หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทํางานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานเบื้องต้นของระบบคอมพิวเตอร์ เริ่มจากผู้ใช้ทำการกรอกข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล
(Input Devices)
ซึ่งข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆที่รับเข้ามาจะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก (Memory) จากนั้นก็จะถูกนำไปประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing) แล้วนำผลที่ได้จากการประมวลผลมาเก็บไว้ในหน่วยความจำแรม พร้อมทั้งแสดงออกทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วย 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ส่วนอุปกรณ์รับข้อมูล ส่วนประมวลผลกลาง หน่วยความจำ และอุปกรณ์แสดงผล
คอมพิวเตอร์มีหลักการทำงานอยู่ 4 ขั้นตอน คือ
·         Description: computer flow

1. รับข้อมูล คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลและคำสั่ง คือ คีย์บอร์ด เมาส์ และสแกนเนอร์ เป็นต้น

                             
Description: scaner
Description: kb                            Description: mouse

2. ประมวลผลข้อมูล หรือ CPU (Central Processing Unit) ใช้คำนวณและประมวณผลคำสั่งต่างๆ ตามโปรแกรมที่กำหนด
Description: cpu02Description: cpu01

3. จัดเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ตยูเอสบีไดร์ ซึ่งหน่วยเก็บข้อมวลนี้สามารถ
แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
3.1
หน่วยควมจำหลัก สามารถแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูลได้ดังนี้คือ
(3.1.1)
หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือ หากเกิดไฟดับระหว่างใช้งาน ข้อมูลจะหาย เรียกว่า แรม (RAM)
Description: ram
(3.1.2) หน่วยความจำแบบลบเลือนไม่ได้ คือ หน่วยความจำถาวร แม้ไฟจะดับข้อมูลก็จะยังอยู่เหมือนเดิม เรียกว่า รอม (ROM)
Description: rom
3.2 หน่วยความจำสำรอง คือ หน่วยความจำที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ต ยูเอสบี
Description: hdd02
Description: usb



4. แสดงผลข้อมูล เมื่อทำการประมวลผลแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงข้อมูล เช่น หากเป็นรูปภาพกราฟิกก็จะแสดงผลทางจอภาพ ถ้าเป็นงานเอกสารก็จะแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ หรือหากเป็นในรูปแบบของเสียงก็จะแสดงผลออกทางลำโพง เป็นต้น
Description: monitorDescription: printer


2. ประโยชน์และโทษของคอมพิวเตอร์
จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( Word processing) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน นอกจากคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์มากมายแล้ว โทษที่เกิดจากใช้คอมพิวเตอร์ก็มีด้วยเช่นกัน ดังจะกล่าวต่อไปนี้
ประโยชน์จากการ
ด้านการศีกษา : สร้างสื่อการเรียนการสอนได้หลายรูปแบบ ค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ศึกษาบทเรียนออนไลน์
Description: yes01

ด้านความบันเทิง : สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิงได้ เช่น เล่นเกมส์ ดูภาพยนตร์ ร้องเพลง ฟังเพลง เป็นต้น
Description: 200573623-001
ด้านติดต่อสื่อสาร : สามารถใช้คอมพิวเตอร์ รับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้ และยังสามารถสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้
Description: 3
ด้านการออกแบบและสร้างงานศิลปะ : สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาช่วยในเรื่องการออกแบบงาน สร้างงานกราฟิกได้
Description: 4
ด้านการพิมพ์เอกสาร : สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาสร้างงานด้านงานเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือนำเสนองานเป็นรูปเล่มได้
Description: 5




บทบาทของคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของเรา และความสำคัญนี้ได้ทวีมากยิ่งขึ้นในอนาคต คอมพิวเตอร์ได้เข้าไปมีบทบาทในทุกวงการอาชีพ โดยเฉพาะกับงานที่มีข้อมูลมาก ๆ และกำลังจะกลายเป็นเครื่องใช้สามัญในบ้านเหมือนกับเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานต่าง ๆ จำแนกได้ดังนี้

Description: http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/p1_1.jpg
1. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหาร เช่น การคิดคะแนน
  • ทำทะเบียนบุคลากร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริการ เช่น งานห้องสมุด งานแนะแนว
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน
Description: http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/p1_9.gif
2. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำทะเบียนราษฎร์
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการนับคะแนนเลือกตั้ง คิดภาษี อากร การบริหารทั่วไป
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการรวบรวมข้อมูลและสถิติ
  • การบริหารงานทั่วไปของหน่วยงานราชการ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ยิ่งขั้น
Description: http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/p1_8.jpg
3. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานสังคมศาสตร์
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิจัย เพื่อให้ได้คำตอบออกมาอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
Description: http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/p1_7.jpg
4.บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึก
  • ค้นหาทะเบียนประวัติผู้ป่วย
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการวินิจฉัยโรค เช่น ตรวจคลื่น สมอง บันทึกการเต้นของหัวใจ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณหาตำแหน่งที่ถูกต้อง ของอวัยวะก่อนการผ่าตัด
Description: http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/p1_10.jpg
5และสื่อสาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการจองตั๋วเครื่องบิน
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บข้อมูล สถิติของผู้โดยสาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมการจราจรทางอากาศ
Description: http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/p1_4.gif
6. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการประเมินสถานการณ์ทาาง เศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยงานธุรการ เช่น งานพัสดุ งานภาษี การทำจดหมายโต้ตอบ
Description: http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/p1_5.gif
7. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการรับฝากและถอนเงิน ที่เป็นภาระกิจประจำของธนาคาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการคิดดอกเบี้ยในอัตราต่างๆ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยให้ลูกค้า ฝากถอนเงินด่วน หรือโอนเงินจากเครื่องได้โดยอัตโนมัติ (ATM)
Description: http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/p1_2.jpg
8. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมหุ่นยนต์ให้ทำงาน
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณโครงสร้าง วางแผน ควบคุมการก่อสร้าง
Description: http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/p1_7.gif
9. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเปรียบเทียบ คัดเลือกข้อมูล
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการทดลองที่เป็นอันตราย
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเดินทางของยานอวกาศ การถ่ายภาพระยะไกล และการสื่อสารผ่านดาวเทียม
Description: http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/p1_6.jpg
10. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก
  • ห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คิดเงินแทนเครื่องคิดเลข
  • การอ่านรหัสด้วยเครื่องอ่าน (Barcode)




ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1.ประโยชน์ด้านการศึกษา ใช้เพื่องานด้านการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ เช่นการ
นำบทเรียน การผลิตสื่อการสอน การใช้ซีดีรอมสำหรับการเรียนรู้ เกมเพื่อการศึกษาหรือ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.ด้านความบันเทิง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เช่น เล่นเกม
ฟังเพลงชมภาพยนต์
3.ด้านการเงิน การธนาคาร ใช้ในการเบิก - ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การโอนเงินด้วย
ระบบด้วยอัตโนมัติโดยโอนเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ การดูข้อมูลตลาดหุ้นการทำกราฟแสดงยอดขาย
4.ด้านการสื่อสารและคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต สื่อสาร
ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์ การคมนาคมทางเรือ เครื่องบิน
และรถไฟฟ้า
5.ด้านศิลปะและการออกแบบ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนออกแบบ
งานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์
6.ด้านการแพทย ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการแพทย์หลายด้าน
เช่น การเก็บประวัติคนไข้ การใช้ทดลองประกอบการวินิจฉันของแพทย์ใช้ในการตรวจ
เลือก ตรวจปัสสาวะ การผ่าตัดหัวใจการตรวจสอบห้องพักผู้ป่วยว่าว่างหรือไม่ การ
ควบคุมแสงเลเซอร์การเอ็กซ์เรย์ การตรวจคลื่อนสมองคลื่นหัวใจ เป็นต้น
7.ด้านวิทยาศาสตร์และเคมี ใช้ในการวิเคราะห์สูตรทางเคมีการคำนวณสูตรทาง
วิทยาศาสตร์การค้นคว้าทดลองในห้องวิทยาศาสตร์ การคำนวณเกี่ยวกับระบบสุริยะ
จักรวาลและการเกิดปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆ

 

ความสำคัญของคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์อุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาค้นคว้าและการทำธุรกิจ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้องค์กรต่างๆ นำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยในการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกิจและให้บริการบนอินเตอร์เน็ต ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงาน
                ไม่เพียงแต่ในองค์กรต่างๆ เท่านั้นที่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน ผู้ใช้ตามบ้านโดยทั่วไป ก็ได้จัดหาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ส่วนตัวกันมากขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งสามารถใช้งานได้ง่ายกว่าในอดีตมาก จนมีการประมาณการกันว่า ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในทุกๆ ครัวเรือนเหมือนกับเครื่องรับโทรทัศน์
                ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว การเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในการทำงานการศึกษาหรือเพื่อความบันเทิง ให้มีประสิทธิภาพและความสะดวกเพิ่มมากขึ้น
                คอมพิวเตอร์มีข้อดีอย่างไร ? มนุษย์เราจึงได้นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องทราบคุณสมบัติพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เสียก่อน ซึ่งมีอยู่ 5 ประการที่สำคัญดังนี้

                                1. ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic machine)
                                คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการบันทึกข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ และเมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้

                                2. การทำงานด้วยความเร็วสูง (speed)
                                เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินงานต่างๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที)

                                3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (accuracy and reliability)
                                คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้ ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้

                                4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (storage)
                                คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกเข้าไป ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านตัวอักษร

                                5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (communication)
                                คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ และสามารถทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบระบบเดี่ยว ตัวอย่างเช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น (remote computer)

                จากคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์เราจะเห็นได้ว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ อย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ หรือถ้ามนุษย์ทำได้ ก็จะใช้เวลามากและมีข้อผิดพลาดมากมาย เช่น การคำนวณตัวเลขหลายหลักเป็นจำนวนมากภายในเวลาจำกัดการทำงานในแบบเดียวกันซ้ำๆ หลายล้านครั้ง หรือการจดจำข้อมูลตัวเลขและตัวหนังสือหลายหมื่นหน้าโดยไม่มีการลืม งานที่น่าเบื่อและยุ่งยากเหล่านี้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนได้ โดยเรามีหน้าที่เพียงเป็นผู้สั่งการเท่านั้น
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ 

        เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น ขณะเดียวกันเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีราคาถูกลง ดังนั้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานต่าง ๆ จึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนั้นมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนี้ 

1. ผลกระทบทางบวกของเทคโนโลยีสารสนเทศ 

เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางบวกต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนี้ 

        1) ด้านคุณภาพชีวิต เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ได้รับความสะดวกสบายขึ้น ได้แก่ 

            - มนุษย์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมออฟฟิศช่วยให้เกิดความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 

            - มนุษย์ใช้ระบบโทรคมนาคมในการสื่อสารที่รวดเร็ว เช่น การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อสื่อสารในขณะเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ มนุษย์ใช้หุ่นยนต์ช่วยในอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องเสี่ยงกับอันตราย หรือในงานที่ต้องการความแม่นยำและความรวดเร็วในการผลิต เช่น หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ เป็นต้น 

            - มนุษย์นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก เช่น เครื่องมือตรวจคลื่นหัวใจที่ทันสมัย มีเครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่สามารถตรวจดูอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างละเอียด เครื่องมือช่วยในการผ่าตัดที่ทำให้คนไข้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการผลิตยา และวัคซีนสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้าช่วยด้วย
Description: https://sites.google.com/site/kroonom/_/rsrc/1337430790804/phlk-ra-thb-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes/com%20scan.jpg

เครื่อง Computed Tomography Scanner : CT Scan
ป็นเครื่องเอกซเรย์ที่ใช้คอมพิวเตอร์คำนวณและสร้างภาพออกมา


        2) ด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านบวกต่อสังคม ดังนี้ 

            - เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ กล่าวคือเป็นสังคมที่ใช้สารสนเทศในการตัดสินใจและการกระจายข้อมูลข่าวสารไปได้ทั่วทุกหนแห่งแม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันในสังคม 

            - เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดชุมชนเสมือน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ซึ่งกันและกันได้ และความรู้เหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์และสามารถเรียกใช้ได้ตามต้องการ 
Description: https://sites.google.com/site/kroonom/_/rsrc/1337431379313/phlk-ra-thb-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A52.jpg

จานดาวเทียมสำหรับการศึกษาทางไกล


        3) ด้านการเรียนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนรู้ 

            - การสร้างโปรแกรมจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนได้อย่างชัดเจน เช่น การจำลองสภาวะสิ่งแวดล้อม การจำลองระบบมลภาวะ การจำลองการไหลของของเหลว หรือแม้แต่การนำเอาคอมพิวเตอร์มาจำลองให้ผู้เรียนได้อยู่ในสภาพที่เสมือนจริง เช่น จำลองการเดินเรือ จำลองการขับเครื่องบิน จำลองการขับรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งลดความผิดพลาดจากความเสียหายและความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายของผู้เรียนลงได้ 
Description: https://sites.google.com/site/kroonom/_/rsrc/1337431430819/phlk-ra-thb-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes/%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99.jpg?height=300&width=400

โปรแกรมจำลองการบินเสมือนจริง


            - เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงของสังคม การเมือง เศรษฐกิจโลก รวมทั้งเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ทำให้มนุษย์ต้องขวนขวายพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยการเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั่วโลก 

Description: https://sites.google.com/site/kroonom/_/rsrc/1337431500425/phlk-ra-thb-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A53.jpg?height=300&width=400

ตารางการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมในถิ่นทุรกันดาร


ผลกระทบทางลบของเทคโนโลยีสารสนเทศ 

เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางลบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนี้ 

        1) คุณภาพชีวิต เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ดังนี้ 

            - โรคอันเกิดจากการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ได้แก่ อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือเนื่องจากจับเมาส์ หรือใช้แป้นพิมพ์เป็นเวลานาน อาการปวดคอ ไหล่ และหลัง การเกิดปัญหาด้านสายตาเนื่องจากเพ่งมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานติดต่อกัน เป็นต้น
Description: https://sites.google.com/site/kroonom/_/rsrc/1337431765818/phlk-ra-thb-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87.jpg

ท่านั่งที่ไม่ถูกต้องในการนั่งทำงานคอมพิวเตอร์

            - โรคทนรอไม่ได้  (Hurry Sickness) เกิดกับผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้เป็นคนขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย ความอดทนลดลง ทนรอเครื่องดาวน์โหลด
นาน ๆ ไม่ได้ จะกระวนกระวาย ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมติดตัวไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วย หากมีอาการมาก ๆ อาจจะเข้าข่ายโรคประสาทได้

Description: https://sites.google.com/site/kroonom/_/rsrc/1337432286849/phlk-ra-thb-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes/%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%941.jpg?height=303&width=400

โรคทนรอไม่ได้

            - มนุษย์เกิดความเครียดจากการเลือกใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมายรวมถึงความเครียดจากความวิตกกังวลว่าจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาทดแทนแรงงานของคน 
Description: https://sites.google.com/site/kroonom/_/rsrc/1337432326160/phlk-ra-thb-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes/%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%942.jpg?height=400&width=400

โรคเครียด

        2) ด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านลบต่อสังคม ดังนี้ 

            - การขาดทักษะทางสังคม เนื่องจากอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการสื่อสารพันได้โดยไม่ต้องพบเจอกัน ซึ่งพบว่าปัจจุบันคนในสังคมจะนิยมใช้บริการเครือข่ายสังคม หรือที่เรียกว่า social network มากขึ้น เช่น เว็บไซต์ Hi5 และเว็บไซต์ Facebook ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าบุคคลในสังคมน้อยลง ทักษะทางสังคมต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างกัน ได้แก่ ทักษะการพูด การฟัง การทำงานร่วมกัน รวมทั้งความสามารถในการเข้าใจถึงสถานการณ์ที่หลากหลาย กฎกติกาต่าง ๆ ในสังคม และการคิดคำนึงถึงคนรอบข้างอย่างเข้าอกเข้าใจ ซึ่งทักษะทางสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นสำหรับทุกเพศทุกวัย ดังนั้นการขาดทักษะทางสังคมจะทำให้คนขาดการทำความเข้าใจผู้อื่น ไม่มีการทำงานร่วมกัน จนกระทั่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในสังคมขึ้นได้ 

Description: https://sites.google.com/site/kroonom/_/rsrc/1337432423795/phlk-ra-thb-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%87.jpg?height=300&width=400

สื่อที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดบนโลกไซเบอร์

            - การเกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มากขึ้นและรุนแรงขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือหนึ่งในการก่ออาชญากรรมได้ง่าย ผู้ไม่หวังดีอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ผิด เช่น การขโมยข้อมูลของบริษัทและนำไปเปิดเผยกับบริษัทคู่แข่ง การเจาะระบบของธนาคารและเปลี่ยนแปลงข้อมูลเงินในบัญชีธนาคารให้สูงขึ้น การล่อลวงผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตและก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งภาพลามกอนาจ การพนันออนไลน์ การจำหน่ายของผิดกฎหมาย หรือเผยแพร่ข้อมูลที่มีเนื้อหาแอบแฝงแนวคิด ก้าวร้าว รุนแรง การส่งไวรัสเข้าไปทำลายข้อมูลของผู้อื่น เป็นต้น 

Description: https://sites.google.com/site/kroonom/_/rsrc/1337432620016/phlk-ra-thb-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3.jpg


        3) ด้านการเรียนการสอน ผลกระทบในทางลบกับการเรียนการสอนจะเกิดขึ้นหากผู้สอน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด และปล่อยให้ผู้เรียนศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนที่มีประสบการณ์น้อยอาจตีความได้ไม่ถูกต้อง รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด ดังนั้น ผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน รวมทั้งให้คำแนะนำ อบรมสั่งสอนด้านคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปกับการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

Description: https://sites.google.com/site/kroonom/_/rsrc/1337432912683/phlk-ra-thb-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes/face3.jpg

ปัญหาเด็กติดเกมคอมพิวเตอร์ที่มาของอาชญากรรม
ความหมายของสารสนเทศ
 (information) [1] เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ
สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกันอย่างมีระบบ ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลือง

ประเภทของสารสนเทศ

ประเภทของสารสนเทศ
1.ระบบประมวลผลรายการประจำ (Transaction Processing Systems : TPS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที  ตัวอย่างเช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า

2.ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information Systems : MIS)
เป็นระบบที่ผู้บริหารระดับกลางต้องการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดการสารสนเทศ โดยจะรวมทั้งสารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งอนาคต นอกจากนี้ระบบ MIS จะต้องให้สารสนเทศภายในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุมและปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้องและต้องเป็นข้อมูลที่ช่วยในการบริหารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงานสรุป  รายงานของสิ่งผิดปกติ

3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS)
เป็นระบบสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริหาร โดยจัดทำรายงานเพื่อช่วยตัดสินใจของผู้บริหารระดับต่าง ๆ ด้วยการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผล เพื่อให้ได้ทางเลือกในการตัดสินใจได้หลายๆทาง และให้ผู้ใช้ได้ตัดสินใจเลือกทางเลือกเอง  หลักการของระบบสร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ โดยอาศัยประสบการณ์ และความสามารถของผู้บริหารเอง  ผู้บริหารอาจกำหนดเงื่อนไขและทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้เป็นสารสนเทศที่ช่วยตัดสินใจ  รูปแบบของผลลัพธ์อาจจะอยู่ในรูปของรายงานเฉพาะกิจ  รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ  การทำนายหรือพยากรณ์เหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น  การหาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม หรือการเลือกกลยุทธ์ในการลงทุนที่เหมาะสม  การว่าจ้างผู้บริหารใหม่เพิ่ม หรือการเลือกกลุ่มของโครงงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในปีหน้า

4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems : EIS)
สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจ สำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะหรือ EIS ก็คือส่วนหนึ่งของระบบ DSS ที่แยกออกมาเพื่อเน้นในการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริหารแก่ผู้บริหารระดับสูงสุด  ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาวและเป้าหมายของกิจการ  สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก   ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของการพยากรณ์/การคาดการณ์  ตัวอย่างเช่น ข้อมูลทางการเงินและนโยบายรัฐบาลที่เป็นข้อมูลภายในและภายนอกสามารถนำมาให้ระบบ EIS วิเคราะห์และวางแผนหรือปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ได้

5.ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES)
เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหา หรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น ES จะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ (Knowledge) มากกว่า สารสนเทศถูกออกแบบมาให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำการโต้ตอบกับมนุษย์ โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่างให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในกระบวนการตัดสินใจ นั่นคือ การทำงานคล้ายกับเป็นมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ เป็นการจำลองความรู้ของผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ มา โดยผู้เชี่ยวชาญในที่นี้ เป็นได้ทั้งผู้เชี่ยวชาญในการบริหาร ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องภาษี ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องยา หรือแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญในการทำอาหารก็ตาม
ตัวอย่างของ ES ที่นำไปใช้ในงานด้านต่างๆ
1) ด้านการแพทย์ : การให้คำแนะนำแก่หมอในการสั่งยาปฏิชีวนะให้คนไข้ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ หลายประการ เช่น ประวัติการเจ็บป่วยของคนไข้ แหล่งติดเชื้อ ราคาของยา
2) ด้านการผลิต : การให้คำแนะนำแก่โรงงานในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนเครื่องบิน
3) ด้านธรณีวิทยา : ให้คำแนะนำแก่นักธรณีวิทยาในการวิเคราะห์ดินและน้ำมัน เพื่อพิจารณาในการขุดเจาะน้ำมัน
4) ด้านกระบวนการผลิต : ให้คำแนะนำในการกำหนดตารางเวลาในกระบวนการผลิต (Expert Systems Scheduling) ซึ่งทำให้บริษัทสามารถปรับตารางเวลาการการผลิต ให้สอดคล้องกับความต้องการในการเปลี่ยนแปลงการผลิตหรือเงื่อนไขของโรงงานที่เปลี่ยนไป อย่างรวดเร็วดังที่บริษัท General Motors ได้นำมาใช้
5) ด้านกระบวนการทำงานของบริษัทบัตรเครดิต : ใช้ ES ช่วยในกระบวนการทำงานตั้งแต่การประมวลการสมัครของลูกค้า การอนุมัติเครดิต การรวมบัญชีที่ค้างชำระเกินกำหนด ES ที่ใช้ระบบนี้เรียกว่า Authorization Assistant และทำให้บริษัทประหยัดเงินได้หลายล้านดอลล่าร์ในแต่ละปี (Haag et al.,2000)
6) ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ : การออกแบบ ES มาสำหรับช่วยบริษัทที่ทำธุรกิจต่างประเทศในการทำสัญญากับประเทศต่างๆ และใช้เป็นเครื่องมืออบรมพนักงานให้มีความรู้และทักษะในความซับซ้อนของการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น (Haag et al.,2000)
7) ด้านการค้าระหว่างประเทศ : บริษัทที่ติดต่อกับกลุ่มประเทศ NAFTA ต้องเผชิญปัญหากับภาษีและกฎระเบียบที่สลับซับซ้อนสำหรับสินค้าต่างๆ ตลอดจน ความเข้มงวดในเรื่องพิธีศุลกากร และการกำหนดโทษของการฝ่าฝืนค่อนข้างรุนแรง ดังนั้น ความเสี่ยงในการทำการค้ากลุ่มประเทศดังกล่าวจึงค่อนข้างสูง บริษัทต่างๆ จึงได้อาศัย ES สำเร็จรูปที่ชื่อว่า “Origin” เป็นเครื่องมือช่วยในการให้คำแนะนำในเรื่องกฎระเบียบต่างๆ

6. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS)
เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงาน  แบ่งได้เป็น 5 ประเภท  คือ  ระบบจัดการเอกสาร  ระบบการจัดการข่าวสาร  ระบบการทำงานร่วมกัน /ประชุมทางไกล  ระบบการประมวลภาพ  และระบบการจัดการสำนักงาน   ระบบ OAS นี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์  การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของเอกสาร  กำหนดการ  สิ่งพิมพ์
จะเห็นว่าการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในสำนักงานอย่างเต็มที่นั้น ทำให้เกิดแนวความคิดของสำนักงานอัตโนมัติ การใช้ไอทีโดยทั่วไปจะเน้นการนำมาประยุกต์ใช้ด้านเอกสาร การประมวลผลข้อมูล และ สารสนเทศ การสื่อสาร การประชุม และการทำงานร่วมกันภายในขององค์กรและการสื่อสารภายนอกองค์กร
ดังนั้น สำนักงานอัตโนมัติ (OAS) เป็นการรวมเทคโนโลยีต่างๆที่ช่วยพนักงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสำนักงาน เทคโนโลยีเหล่านี้รวมถึง Voice mail, e-mail, scheduling software , Desktop publishing , Word processing , และ Fax เทคโนโลยีของสำนักงานอัตโนมัติจะใช้กับบุคลากรทุกระดับ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ใช้จะเป็นระบบ LAN หรือใช้ระบบ Intranet หรือ Extranet



วิธีการประมวลผล
ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1)
ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Numeric Data) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำ ไปคำนวณได้ ข้อมูลแบบนี้เขียนได้หลายรูปแบบ คือ
ก. เลขจำนวนเต็ม หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12, 9, 137 , 8319 , -46
ข. เลขทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12 หรือเป็นจำนวนที่มีเศษทศนิยมก็ได้ เช่น 12.763
เลขทศนิยมแบบนี้สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบคือ
ก. แบบที่ใช้กันทั่วไป เช่น 12., 9.0 ,17.63, 119.3267 , -17.34
ข. แบบที่ใช้งานทางวิทยาศาสตร์ เช่น
123. x 104
หมายถึง 1230000.0
13.76 x 10-3
หมายถึง 0.01376
- 1764.0 x 102
หมายถึง -176400.0
- 1764.10-2
หมายถึง -17.64
2) ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character Data) หมายถึง ข้อมูลที่ ไม่สามารถนำ ไปคำนวณได้ แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ เช่น การเรียงลำดับตัวอักษร ข้อมูลอาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายใด ๆ เช่น COMPUTER, ON-LINE, 1711101,&76

วิธีการประมวลผลข้อมูล
วิธีการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ มีหลายวิธี ดังนี้
1) การคำนวณ (Calculation) หมายถึง การนำข้อมูลที่เป็นตัวเลขมาทำการ บวก ลบ คูณ หารยกกำลัง เช่น การคำนวณภาษี การคำนวณค่าแรง เป็นต้น
2) การจัดเรียงข้อมูล (Sorting) เป็นการเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย เพื่อทำให้ดูง่ายขึ้น ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้เร็วขึ้น เช่น การเรียงคะแนนดิบของนักเรียนจากมาก ไปหาน้อย การเก็บบัตรดัชนีสำหรับหนังสือต่างๆ โดยการเรียงตามตัวอักษร จาก ก ข ค ถึง ฮ เป็นต้น
3) การจัดกลุ่ม (Classifying) หมายถึง การจัดข้อมูลโดยการแยกออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ต่างๆ เช่น การนำข้อมูลเกี่ยวกับประวัตินักศึกษา มาแยกตามคณะต่างๆ เช่น แยกเป็นนักศึกษาที่ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ นักศึกษาที่สังกัดคณะครุศาสตร์ เป็นต้น การทำเช่นนี้ทำให้การค้นหาข้อมูล ทำได้ง่ายขึ้น และยังสะดวกสำหรับทำรายงานต่างๆ
4) การดึงข้อมูล (Retrieving) หมายถึง การค้นหาและการนำข้อมูลที่ต้องการมาจากแหล่ง เก็บข้อมูล เพื่อนำไปใช้งาน
5) การรวมข้อมูล (Merging) หมายถึง การนำข้อมูลตั้งแต่สองชุดขึ้นไปมารวมกันให้เป็นชุด เดียวเช่น การนำประวัติส่วนตัวของนักศึกษา และประวัติการศึกษามารวมเป็นชุดเดียวกัน เป็นประวัตินักศึกษาเป็นต้น
6) การสรุปผล (Summarizing) หมายถึง การสรุปส่วนต่างๆของข้อมูลโดยย่อเอา เฉพาะส่วนที่เป็น ใจความสำคัญ เพื่อเน้นจุดสำคัญและแนวโน้ม เช่น การนำข้อฒุลมาแจงนับและ ทำเป็นตารางการ หายอดนักศึกษา ของแต่ละวิชา ข้อมูลเหล่านี้ใช้สำหรับพิมพ์เป็นรายงานสรุป ส่งขึ้นไปให้ผู้บริหาร ระดับสูง เพื่อใช้ในการบริหาร
7) การทำรายงาน (Reporting) หมายถึง การนำข้อมูลมาจัดพิมพ์รายงานรูปแบบต่างๆ เช่น รายงานการวิเคราะห์อาชีพของผู้ปกครองของนักศึกษา รายงานการเรียนของนักศึกษา เป็นต้น
8) การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลเอาไว้โดยทำการคัดลอกข้อมูล จากต้นฉบับแล้วเก็บเป็นแฟ้ม (Filing) เช่น การบันทึกประวัติส่วนตัวนักศึกษาแต่ละคน เป็นต้น
9) การปรับปรุงรักษาข้อมูล (Updating) หมายถึง การเพิ่ม (Add) หรือการเอาออก (Delete) และการเปลี่ยนค่า (Change) ข้อมูลที่อยู่ในแฟ้มให้ทันสมัยอยู่เสมอ

วิธีการประมวลผล (Processing Technique) ในรูปแบบที่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการประมวลผลทางธุรกิจนั้นมีวิธีการประมวลผลได้หลายแบบดังนี้
1. การประมวลผลแบบชุด (Batch Processing)
คือ การประมวลผลโดยผู้ใช้จะทำการรวบรวมเอกสารที่ต้องการประมวลผลไว้เป็นชุดๆ ซึ่งแต่ละชุดอาจจะกำหนดเท่ากับเอกสาร 10 หรือ 20 รายการหรือมากกว่าก็ได้แต่ให้มีขนาดเท่ากัน แล้วป้อนข้อมูลดังกล่าวสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงใช้คำสั่งให้ประมวลผลพร้อมกันที่ละชุด

2. การประมวลผลแบบโต้ตอบ (Interactive)
หมายถึง การทำงานในลักษณะที่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้สามารถที่จะตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลา เช่น กรณีที่ลูกค้า นายวัลลภ คลองหก จากบริษัทราชมงคล จำกัด ติดต่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากแผนกขาย เจ้าหน้าที่พนักงานขายจะต้องป้อนรหัสลูกค้า เพื่อเรียกประวัตินายวัลลภขึ้นมาพิจารณาว่าใน ขณะนี้ได้สั่งซื้อสินค้าเกินวงเงินเครดิตหรือไม่ ถ้าไม่เกินก็อนุมัติการขายแต่ถ้าหากเกินก็อาจจะให้ชำระเป็นเงินสด จากนั้นจะมีการตรวจสอบแฟ้มสินค้าคงคลังว่ามีสินค้าดังกล่าวหรือไม่เพื่อตัดสต็อก (Stock) แล้วพิมพ์บิลเพื่อจัดส่งให้ลูกค้า แสดงการทำงานการออกบิลโดยการประมวลผลแบบโต้ตอบ
Description: http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/g7/raim/interactive.gif

การจัดการสารสนเทศ
  
การจัดการสารสนเทศ(Information Management)  
   
     
      เป็นการดำเนินการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการนำสารสนเทศ มาจัดทำเป็นฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้หลายๆ คน มุ่งเน้นที่จะเก็บรวบรวม ประมวลผล และเผยแพร่ข้อมูล โดยมีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ นโยบาลและแนวปฏิบัติ บุคลากรหรือผู้ใช้เป็นองค์ประกอบหลักในการจัดการ การจัดการสารสนเทศสามารถดำเนินการได้ 3 ขั้นตอน คือ การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการดูแลรักษาข้อมูล



ข้อมูล (data)  
    
 คือ ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียด หรือเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ตัวเลข ข้อความ ภาพ เสียง และวีดิทัศน์ ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้องมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งที่เราสนใจ โรงเรียนเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ เช่น เมื่อนักเรียนสมัครเข้าโรเรียนก็จะมีการบันทึกประวัตินักเรียนไว้ ข้อมูลของนักเรียนที่ โรงเรียนเก็บส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ บ้านเลขที่ ชื่อผู้ปกครอง บิดา มารดา นอกจากนี้ยังมีการบันทึก การมาเรียนของนักเรียน บันทึกผลการเรียน ข้องมูลเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจำมาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง แต่อย่างไรก็ตาม ข้องเท็จจริงที่บันทึกไว้นี้ไม่อาจทำให้รู้จักและเข้าใจนักเรียนแต่ละคนได้อย่างถ่องแท้ เพราะมีข้องมูลอย่างอื่นของนักเรียนที่ไม่ได้บันทึกเอาไว้อีกมาก เช่น สีผม สีตา ตำหนิ ความสูง น้ำหนัก อาหารที่ชอบ วิชาที่ชอบ ความถนัด และงานอดิเรก ในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจไดๆ จำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้ใช้งาน เช่น ร้านค้าแห่งหนึ่งเก็บข้อมูลการขายสินค้าตลอดปี เขาสามารถนำข้องมูลเหล่านี้มาศึกษาและวิเคราะห์ปริมาณการขายต่อเดือน ประเภทและชนิดของสินค้าว่าสินค้าชนิดใดขายดี ชนิดใดขายไม่ดี แนวโน้มการขายในอนาคตจะเป็นอย่างไร สินค้าใดมียอดการขายที่ขึ้นอยู่กับเทศกาลหรือมีผลจากปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง



สารสนเทศ (information) 
     
     หมายถึงข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เพราะผ่านการประมวลผลด้วยวิธีที่เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ อยู่ในแบบที่สามารถนำมาใช้งานได้ และจะต้อง อยู่ในช่วงเวลาที่ต้องการ เช่น เมื่อต้องการสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนการขาย สารสนเทศที่ต้องการก็ควรจะเป็นรายงานสรุปยอดการขายแต่ละเดือนในปีที่ผ่านมาที่เพื่อพอแก่การตัดสินใจ 


ระบบสารสนเทศ
   
    ระบบสารสนเทศ (Information System : IS) คือ การดำเนินงานกับข้อมูล ตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยบุคลากรอาจใช้ฮาร์ดแวร์เป็นเครื่องมือที่ให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ การจัดทำสารสนเทศจะทำให้เกิดความรอบรู้ที่จะช่วยในการตัดสินใจหรือวางแผนในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการบันทึกข้อมูลลงแบบฟอร์ม และเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม ซึ่งในแต่ละเดือน ภาค หรือปี และมีการสรุปข้อมูลเป็นสารสนเทศเพื่อสร้างรายงาน ตัวอย่างเช่น โรงเรียนแห่งหนึ่งต้องการคัดเลือกนักเรียนเพื่อไปตอบคำถามเกี่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศจึงทำการคัดเลือกนักเรียนจากข้อมูลที่โรงเรียนจัดเก็บคือ ระดับคะแนนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นรายภาค และจากข้อมูลระดับคะแนนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคเรียนที่ มีนักเรียน 3  คน ได้รับคะแนน อาจารย์จึงพิจารณาระดับคะแนนทั้ง 4  ภาคเรียนของนักเรียน คน

สารสนเทศสามารถแบ่งได้ดังนี้

   1) สารสนเทศที่ทำประจำ เป็นสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเป็นประจำ และมีการดำเนินการโดยสม่ำเสมอ เช่น การทำรายงานสรุปจำนวนนักเรียนที่มาโรงเรียนในแต่ละวัน รายงานเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายประจำวันของนักเรียน รายงานเกี่ยวกับผู้มาติดต่อหรือตรวจเยี่ยมโรงเรียนในแต่ละเดือน
    2) สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย ตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศจะมีการให้ทำรายงานส่งเพื่อการต่างๆ เช่น งบดุลของบริษัทที่ต้องทำขึ้น เพื่อยื่นต่อทางราชการและใช้ในการเสียภาษี
       3) สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ ในการดำเนินงานต่างๆ บางครั้งจำเป็นต้องทำรายงานข้อมูลมาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ เช่น รัฐบาลต้องการสร้างเขื่อนอเนกประสงค์และจำเป็นต้องได้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนว่าจะสร้างหรือไม่ จึงต้องมีการเก็บรวบรวมข้องมูลเพื่อสรุปรายงานขึ้นเป็นการเฉพาะ แล้วนะสารสนเทศนั้นมาพิจารณาถึงผลดี และผลเสียเพื่อช่วยในการตัดสินในการดำเนินงานเพื่อให้ได้สารสนเทศเหล่านี้จึงเป็นงานเฉพาะที่จัดทำเป็นครั้งคราวเพื่อโครงการหนึ่งๆ เท่านั้น


ผังการจัดการสารสนเทศ






1.  การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
          การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งควรกระทำควบคู่กันไป กล่าวคือ เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็ทำการตรวจสอบข้อมูลนั้นทันที เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการมากที่สุด
         

 
1.1  การเก็บรวบรวมข้อมูล 
     เป็นการจัดการกับข้อมูลที่มีจำนวนมาก โดยจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและเป็นระบบ จึงควรกำหนดว่าจะต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง ข้อมูลได้มาจากไหน และจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นมาได้อย่างไร เช่น





       
   1.2  การตรวจสอบข้อมูล 
     เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีคุณภาพ เนื่องจากหากข้อมูลที่ได้รวบรวมมานั้นไม่ถูกต้อง ขาดความน่าเชื่อถือ หรือไม่ครบถ้วน สารสนเทศที่ได้ย่อมไม่มีคุณภาพด้วย เช่น





2.  การประมวลผลข้อมูล
        การประมวลผลข้อมูล คือ การนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมและตรวจสอบมากระทำเพื่อให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ดังนี้
        



  
2.1  การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล 
      เป็นการแยกประเภทของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอย่างเป็นระบบตามกลุ่มและประเภทของข้อมูลนั้น เพื่อให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้อาจเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้ เช่น


         



 
2.2  การจัดเรียงข้อมูล 
     เป็นขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาหรืออ้างอิงข้อมูลในอนาคต เช่น


         

 2.3  การคำนวณ 
     เป็นการประมวลผลที่ต้องการผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่มีความละเอียด ถูกต้อง แม่นยำ เนื่องจากข้อมูลที่รวบรวมและจัดเก็บมานั้นอาจมีทั้งรูปแบบของข้อความและตัวเลข ซึ่งต้องมีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือผลรวมของข้อมูลนั้นๆ เช่น


        


 
 2.4 การทำรายงาน 
       เป็นการประมวลผลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ข้อมูลในอนาคต ผู้ดำเนินการจะต้องสรุปข้อมูลเพื่อทำรายงานให้ตรงกับความต้องการในการใช้สาสนเทศนั้น ๆ โดยจะต้องนำเสนอรายงานในรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการสารสนเทศ เช่น







3. การดูแลรักษาข้อมูล
            การดูแลรักษาข้อมูล เป็นขั้นตอนการจัดการสารสนเทศมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันและเก็บรักษาข้อมูลไม่ให้สูญหาย ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต
          

3.1  การจัดเก็บ 
       คือ การนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและประมวลผลแล้วมาบันทึกเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างมีระเบียบและเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน ทั้งนี้อาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้ม เอกสารสิ่งพิมพ์หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ในคอมพิวเตอร์ก็ได้ เช่น



       


  
 3.2    การทำสำเนา  
        คือการเพิ่มจำนวนข้อมูลด้านปริมาณ โดยเนื้อหาของข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากต้นฉบับหรือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว สามารถกระทำได้โดยการคัดลอกทั้งจากมนุษย์หรือเครื่องจักรต่าง ๆ ซึ้งอาจเป็นเครื่องถ่ายเอกสารหรือคอมพิวเตอร์ก็ได้ เช่น



         
 3.3   การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล 
          คือ การนำสำเนาที่ทำเพิ่มไว้แจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง เช่น


         
 3.4   การปรับปรุงข้อมูล 
         คือ การแก้ไขปรับปรุงรายการข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน อาจกระทำโดยการแก้ไขข้อมูลบางส่วนหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงในระบบข้อมูล เช่น



ระดับของสารสนเทศ

Description: https://sites.google.com/site/kroonom/_/rsrc/1337418347798/radab-khxng-sarsnthes/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8.jpg?height=232&width=400

        ปัจจุบันข้อมูลและสารสนเทศมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสังคมในยุคปัจจุบันถือได้ว่าเป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based Society) กล่าวคือ คนในสังคมใช้ข้อมูลและสารสนเทศในการตัดสินใจ มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะสารสนเทศเป็นสิ่งที่ช่วยให้การตัดสินใจของผู้ใช้มีความแม่นยำ ให้นักเรียนลองจินตนาการดูว่า หากนักเรียนต้องการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการเดินเข้าไปที่ร้านและเลือกพิจารณาคอมพิวเตอร์ทีละยี่ห้อเพื่อเปรียบเทียบด้วยตนเองนั้น นักเรียนคงต้องใช้เวลาเป็นวันในการเทียบเคียงข้อมูล แต่ปัจจุบันหากนักเรียนต้องการข้อมูลเพื่อตัดสินใจซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เพียงแต่เข้าอินเทอร์เน็ต นักเรียนจะพบว่ามีหลายเว็บไซต์ที่ให้นักเรียนกรอกความต้องการการใช้งานเครื่อง แล้วเว็บไซต์จะประมวลผลและนำเสนอเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะและรุ่นใกล้เคียงกับความต้องการได้เพียงเสี้ยววินาที ซึ่งนี่เป็นแค่ตัวอย่างของการใช้งานสารสนเทศของผู้ใช้เป็นรายบุคคลเท่านั้น ปัจจุบันหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ได้นำสารสนเทศมาใช้ในการตัดสินใจมากขึ้น ซึ่งระดับของสารสนเทศเป็นระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ ดังนี้ 

1. ระดับบุคคล 

            ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับบุคคลนั้น จะเป็นการที่แต่ละบุคคลในองค์กรจะสร้างและใช้สารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานส่วนตัวเท่านั้น เช่น การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดในการพิมพ์เอกสาร การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ในงานนำเสนอสำหรับการสอนหรือบรรยาย โดยสามารถกรอกข้อความ ตาราง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ที่ช่วยดึงดูดให้ผู้ฟังสนใจตลอดเวลา การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซลล์กรอกข้อมูล คำนวณ สร้างกราฟ และทำนายผลลัพธ์ของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น 

Description: https://sites.google.com/site/kroonom/_/rsrc/1337418398385/radab-khxng-sarsnthes/it%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5.jpg

สารสนเทศระดับบุคคล


2. ระดับกลุ่ม 

            ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับกลุ่มนั้น จะเป็นการที่กลุ่มของคนในองค์กรที่ต้องทำงานร่วมกันจะสร้างและใช้สารสนเทศร่วมกัน ซึ่งจะส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

        หลักการ คือ นำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระยะใกล้หรือระยะไกล ทำให้มีการใช้ทรัพยากร ได้แก่ ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน 

Description: https://sites.google.com/site/kroonom/_/rsrc/1337418665462/radab-khxng-sarsnthes/5.%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1.gif

สารสนเทศระดับกลุ่ม


3. ระดับองค์กร 

            ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับองค์กรนั้น จะเป็นการที่แผนกต่าง ๆ ในองค์กร เช่น แผนการขายและการตลาด แผนการผลิต แผนกจัดซื้อ แผนกบุคคล แผนกการเงินและการบัญชี เป็นต้น มีการสร้างและส่งผ่านสารสนเทศจากแผนกหนึ่งไปยังอีกแผนกหนึ่งได้โดยสร้างสารสนเทศในรูปแบบรายงาน หรือกราฟเพื่อให้ผู้บริหารนำไปประกอบการตัดสินใจได้ 

        หลักการ คือ นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของแผนกต่าง ๆ มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน 

        สิ่งที่สำคัญของระบบสารสนเทศระดับกลุ่มและระดับองค์กร คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายทั้งภายในองค์กรและการเชื่อมโยงภายนอกองค์กร เพื่อให้มีการสื่อสารและส่งข้อมูลถึงกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 


Description: https://sites.google.com/site/kroonom/_/rsrc/1337418528601/radab-khxng-sarsnthes/it%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A31.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น